ศึกษาต่อ

ภาพรวม

ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำเดิมเป็นสาขาหนึ่งในห้าสาขาวิชาของภาควิชาวิศวกรรมโยธา ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรขั้นพื้นฐานในสาขาวิศวกรรมชลศาสตร์อุทกวิทยาและทรัพยากรน้ำ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมสำรวจ นอกจากนี้สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ  ในสังกัดวิศวกรรมโยธาเดิมยังมีการเรียนการสอนและวิจัย ในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตมาตั้งแต่ปี 2514 และในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตมาตั้งแต่ปี 2527 จนกระทั่งในปลายปี 2534 ได้รับจัดตั้งให้เป็นภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของประเทศ

ภาควิชาเปิดสอนหลักสูตรที่นำไปสู่การศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ งานวิจัยมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและการพัฒนาวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ เช่น อุทกวิทยาและวิศวกรรมอุทกวิทยา วิศวกรรมชลศาสตร์ วิศวกรรมชลประทาน น้ำใต้ดิน วิศวกรรมชายฝั่ง และการวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำ นักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ ควรสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมโยธาหรือวิศวกรรมแหล่งน้ำหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธาเพียงพอ.


วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

การรับเข้าศึกษา

1.สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมทรัพยากร/แหล่งน้ำ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ชลประทาน หรือสาขาวิชาในชื่ออื่นที่เทียบเท่า หรือ วท.บ. (วิศวกรรมโยธา) จากมหาวิทยาลัยที่ ก.พ. รับรอง

2.ในกรณีผู้สมัครไม่มีวุฒิตรงตามข้อ 1. จะต้องผ่านการเรียนรายวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมแหล่งน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และอาจต้องลงทะเบียนรายวิชาในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ กำหนด

3.คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

4.ผู้สมัครต้องมีหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หรือจากผู้บังคับบัญชารวม 2 ฉบับ และในกรณี ที่รับราชการจะต้องมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ลาเรียนได้จากผู้บังคับบัญชาโดยตรงอีก 1 ฉบับ (ดูตัวอย่างหนังสือรับรอง
ท้ายเล่ม)

5.เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 400 คะแนนจะไม่รับเข้าศึกษา แต่ในกรณีที่คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 450 ผู้สมัครจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันภาษาเพิ่มเติม ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย

6.ผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการหลักสูตร

ทาง ก.พ. ได้พิจารณารับรองคุณวุฒิปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นปริญญาโททางวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรโยธา โดยผู้เรียนจะต้องจบปริญญาตรี วศ.บ. สาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมแหล่งน้ำ และต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา (กว.) หากไม่มีใบอนุญาต กว. จะต้องเรียนรายวิชาระดับปริญญาตรีเพิ่มเติม

ข้อกำหนดของผู้สำเร็จการศึกษา

ผู้เรียนจะต้องผ่านหลักสูตรอย่างน้อยจำนวนทั้งหมด 36 หน่วยกิต โดยจำนวน 24 หน่วยกิต มาจากการเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วยวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต และวิชาเลือกที่ได้รับการรับรอง 12 หน่วยกิต และต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.00 รวมถึง 12 หน่วยกิตของวิทยานิพนธ์และได้รับการประเมินผลการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับผ่าน

ข้อกำหนดของหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรน้ำ

การรับเข้าศึกษา

1.สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หรือปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยที่ ก.พ. รับรอง

2.ในกรณีผู้สมัครไม่มีวุฒิตรงตามข้อ 1. จะต้องผ่านการเรียนรายวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมแหล่งน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และอาจต้องลงทะเบียนรายวิชาในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ กำหนด

3.คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

4.ผู้สมัครต้องมีหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หรือจากผู้บังคับบัญชารวม 2 ฉบับ และในกรณี ที่รับราชการจะต้องมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ลาเรียนได้จากผู้บังคับบัญชาโดยตรงอีก 1 ฉบับ (ดูตัวอย่างหนังสือรับรองท้ายเล่ม)

5.เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 400 คะแนนจะไม่รับเข้าศึกษา แต่ในกรณีที่คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 450 ผู้สมัครจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันภาษาเพิ่มเติม ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย

6.ผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการหลักสูตร

ข้อกำหนดของผู้สำเร็จการศึกษา

นิสิตที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมหรือเทียบเท่า จะต้องเรียนและสอบผ่านวิชาพื้นฐาน 1 รายวิชา จำนวน 3 หน่วยกิต โดยประเมินผลการเรียนเป็น S/U และไม่นับหน่วยกิตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เว้นแต่ในกรณีได้รับการยกเว้นจากภาควิชาฯ ได้แก่ 2112610 พื้นฐานทางชลศาสตร์สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำ (3-0-9) หน่วยกิต

ผู้เรียนจะต้องผ่านหลักสูตรอย่างน้อยจำนวนทั้งหมด 36 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็น แผน ก แบบ ก1 และแผน ก แบบ ก2

  • แผน ก แบบ ก1 ประกอบด้วยหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต โดยไม่มีการเรียนการสอน
  • แผน ก แบบ ก2 ประกอบด้วยหน่วยกิตจำนวน 24 หน่วยกิต มาจากการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต และวิชาเลือกที่ได้รับการรับรอง 15 หน่วยกิต และต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.00 รวมถึง 12 หน่วยกิตของวิทยานิพนธ์และได้รับการประเมินผลการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับผ่าน

ข้อกำหนดของหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร


วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

การรับเข้าศึกษา

  1. ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ หรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้ม

  2. หากผู้สมัครมีคะแนนต่ำกว่า 3.50 แต่ไม่ต่ำกว่า 3.25 ผู้สมัครต้องมีผลงานวิจัยทางวิชาการที่มีคุณภาพดี ซึ่งเคยเสนอในการประชุมวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1  เรื่อง (ต้องแนบสำเนาผลงานวิจัยมาพร้อมใบสมัคร) หรือ

  3. เป็นผู้ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ปริญญาเอกพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา

  4. ผู้สมัครต้องนำใบรับรองคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตร (ถ้ามี) และปริญญาโทประกอบการสมัคร

  5. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 450 คะแนน จะไม่รับเข้าศึกษา แต่ในกรณีที่คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 525 ผู้สมัครจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันภาษา เพิ่มเติม ตามหลักสูตรที่กำหนด

  6. ผู้สมัครที่ทำงานต้องมีหนังสือสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาให้ลาศึกษาได้

  7. ผู้สมัครต้องนำเสนอเอกสารต่อไปนี้ประกอบการสมัคร
    • บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
    • ประวัติการศึกษาและการทำงาน
    • แนวทางการทำวิจัยในระดับปริญญาเอก

 

สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน  แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript)  ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการหลักสูตร
ทาง ก.พ. ได้พิจารณารับรองคุณวุฒิปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นปริญญาโททางวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรโยธา โดยผู้เรียนจะต้องจบปริญญาตรี วศ.บ. สาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมแหล่งน้ำ และต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา (กว.) หากไม่มีใบอนุญาต กว. จะต้องเรียนรายวิชาระดับปริญญาตรีเพิ่มเติม

 

ข้อกำหนดของผู้สำเร็จการศึกษา

วิทยานิพนธ์ที่ยอมรับไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต รวม 12 หน่วยกิตในพื้นที่หลักบวก 2 หน่วยกิตในการสัมมนา (S / U) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาระดับปริญญาเอก

นักเรียนที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของหลักสูตรด้วยระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 10 ภาคการศึกษาปกติและผ่านการสอบปากเปล่าที่น่าพอใจจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ข้อกำหนดของหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร


วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

การรับเข้าศึกษา

  1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หรือปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยที่ ก.พ. รับรอง โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้ม
  2. หากผู้สมัครมีคะแนนต่ำกว่า 3.50 แต่ไม่ต่ำกว่า 3.25 ผู้สมัครต้องมีผลงานวิจัยทางวิชาการที่มีคุณภาพดี ซึ่งเคยเสนอในการประชุมวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1  เรื่อง (ต้องแนบสำเนาผลงานวิจัยมาพร้อมใบสมัคร) หรือ
  3. เป็นผู้ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ปริญญาเอกพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา
  4. ผู้สมัครต้องนำใบรับรองคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตร (ถ้ามี) และปริญญาโทประกอบการสมัคร
  5. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 450 คะแนน จะไม่รับเข้าศึกษา แต่ในกรณีที่คะแนน CU-TEP เทียบเท่า TOEFL น้อยกว่า 525 ผู้สมัครจะต้องเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันภาษาเพิ่มเติมตามหลักสูตรที่กำหนด
  6. ผู้สมัครที่ทำงานต้องมีหนังสือสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาให้ลาศึกษาได้
  7. ผู้สมัครต้องนำเสนอเอกสารต่อไปนี้ประกอบการสมัคร
    • บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
    • ประวัติการศึกษาและการทำงาน
    • แนวทางการทำวิจัยในระดับปริญญาเอก

สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript)  ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการหลักสูตร

ข้อกำหนดของผู้สำเร็จการศึกษา

3.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
- แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์อย่างเดียว) สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี (ศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปี)
- แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์อย่างเดียว) สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี 72 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี (ศึกษาได้ไม่เกิน 8 ปี)
- แบบ 2.1 (รายวิชาและวิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี (ศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปี)
- แบบ 2.2 (รายวิชาและวิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี 72 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี (ศึกษาได้ไม่เกิน 8 ปี)

หมายเหตุ:

  1. ในภาคการศึกษาใดที่นิสิตไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนา นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2112894 สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต Doctoral Dissertation Seminar ทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา โดยไม่นับหน่วยกิตและประเมินผลเป็น S/U ทั้งนี้นิสิตต้องได้รับสัญลักษ์ S ในภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา
  2. นิสิตทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิตและประเมินผลเป็น S/U ได้แก่ 2112796 สัมมนาการจัดการทรัพยากรน้ำ 3 และ 2112797 สัมมนาการจัดการทรัพยากรน้ำ 4

นิสิตที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของหลักสูตรด้วยระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 10 ภาคการศึกษาปกติและผ่านการสอบปากเปล่าที่น่าพอใจจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ข้อกำหนดของหลักสูตร

ข้อกำหนดของหลักสูตร